วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์

ผู้รายงาน : นางสาวพิศมัย พาละพล
ปีที่ศึกษา : 2554
บทคัดย่อ
         การศึกษาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียน ไขศรีปราโมชอนุสรณ์ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นห้องที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 38 คน
         เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกหัด และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
         สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test

ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.95/82.76
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุด เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด